วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันเสาร์ ที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555(เรียนชดเชย)


        กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้


-อาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้  1ภาพต่อหนึ่งคนและได้ออกไปเล่านิทานกลุ่มละแปดคนโดยให้เล่านิทานต่อจากเพื่อนโดยดิฉันได้วาดรูป " รถยนต์"




-อาจารย์ให้วาดรูปแทนคำโดยให้เพื่อนทายว่าเราวาดคำอะไรโดยดิฉันได้ทายคำว่า " สร้อยคอ"และดิฉันได้วาดรูปสร้อยและวาดรูปคอ



- อาจารย์ให้เขียนพยัญชนะไทยและอาจารย์แบ่งกลุ่มให้กลุ่มดิฉัน 9 คนโดยให้กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับอักษรกลางโดยดิฉันได้เขียนตัว "ป" และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้าว่ามีอะไรบ้างโดยกลุ่มของดินฉันได้เขียน  "เ"  และ "แ"




- อาจารย์ให้ทำภาพและคำโดยให้พับครึ่งกระดาษก่อนแล้วแบ่งเป็นสองส่วนโดยส่วนบนให้วาดภาพพร้อมเขียนชื่อของภาพไว้ใต้รูปภาพที่เราวาดและส่วนล่างให้แบ่งช่องว่างให้เท่ากันและเขีียนแต่ละคำลงในช่องว่างที่เราแบ่งไว้ตามคำที่เราเขียนไว้ด้านบนตามที่เราวาด
   

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555



 กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำวันนี้โดยการให้แบ่งกลุ่ม 4 คนโดยอาจารย์ให้ทำปริศนาคำทายโดยการเขียนแบบโดมิโน่


           การสร้างปริศนาคำทาย
1.เลือกเเละกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2.วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3.เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยเรียงลักษณะที่หลายๆสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น
4.นำมาจัดเรียงลำดับ
5.เเต่งประโยคที่มีคำซำ
* วันนี้อาจารย์ได้สั่งการบ้านโดยการทำหนังสือภาพเป็นกลุ่ม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

*วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดธุระ

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

         อาจารย์ให้ฟังนิทานจาก Ebook

        เทคนิคการเล่านิทาน

1. ควรทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนิทานที่จะเล่าเสียก่อนโดยจินตนาการออกมา
เป็นภาพอ่านเรื่องช้าๆ เพื่อจับใจความ
2. ควรเลือกคำที่เป็นคำง่ายๆ ที่เด็กฟังหรือนึกออก เป็นภาพในจินตนาการได้
3. เมื่อในเนื้อเรื่องมีตัวละครคุยกันให้ใช้บทสนทนา เพราะทำให้เด็กตื่นเต้นกว่า
4. เริ่มต้นเรื่องให้ดีเพื่อเรียกร้องความสนใจ พยายามหลีกเลี่ยงการบรรยายและ
การอธิบายที่ไม่จำเป็น
5. การเล่าเรื่องควรใช้เสียงแบบสนทนากัน คือ ช้า ชัดเจน มีหนักเบา แต่ไม่ควรมี
เอ้อ อ้า ที่นี้
6. ขณะที่เล่านิทานควรจับเวลาให้ดี เว้นจังหวะตามอารมณ์ของเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่อง
มีสิ่งเร้าใจก็พูดให้เร็วขึ้นทำท่าจริงจัง
7. นิทานที่นำมาเล่าให้ยาวพอๆกับระยะความสนใจของเด็กคือ ประมาณ 15–25 นาที
สำหรับเด็กประถมศึกษา หรือเป็นคำก็จะประมาณ 1,000 คำ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดี ที่26 พ.ศ. 2555


- วันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
- อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราได้บ้าง

1. นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้

2. การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน

3. ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์

4. การเขียนตัวหนังสือ สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง

5. การเขียนชื่อตัวเองได้

6. การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ ค่ะ

รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน

- มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น

- ฟังและพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี

- สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ก็คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

บลูและลาเฮย์ ให้ความหมายของภาษา 3 ประการ

1. ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส "เด็ก กิน ขนม"

2. ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมิติเกี่ยวกับโลก หรือ ประมวลประสบการณ์

3. ภาษาเป็นระบบ ภาษาเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม

กำชัย ทองหล่อ " ภาษาแปลตามรูปศัพท์ "

วิจินตน์ ภานุพงษ์ " เสียงที่มีระบบทำให้เราใช้สื่อสารกัน "


สรุป ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่7
วันอาทิตย์ ที่22 มกราคม พ.ศ. 2555(เรียนชดเชย)

-วันนี้อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)


การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน

และอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร? กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์ บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ

อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คืออะไร

และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค